ข้อมูลทั่วไป |
1. ที่ตั้งและขอบเขต |
|
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ 50 ระยะทางห่างจากกรุงทพมหานคร
|
607 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,590 ตารางกิโลเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 600 ฟุต อาณาเขตติดต่อกับอำเภอ จังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ |
|
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อำเภอบ้านหลวง |
|
|
และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
|
ทิศตะวันตก |
อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอลอง จังหวัดแพร่ |
|
|
|
|
2. ลักษณะภูมิประเทศ |
|
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโดยมีจุดสูงสุด |
และต่ำสุดจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,650 เมตร และ 120 เมตร ตามลำดับ |
|
3. ลักษณะภูมิอากาศ |
|
ลักษณะภูมิแากาศของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ จัดอยู่ในลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน |
(Tropical Savana) บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตร่องอากาศเขตร้อน (Intertropical Convergence Zone) ปริมาณและการกระจายของฝนได้รับ |
อิทธิพลจากมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤษาคมถึงเดือนตุลาคม ทำให้ฝนตกชุกและลม |
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริ่มพัดผ่านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน โโยนำเอาอากาศหนาว และแห้งแล้วจากประเทศจีน |
มาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ |
|
4. การปกครองและประชากร |
|
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ แบ่งการปกครองเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน 5 ชุมชน 2 เทศบาลตำบล 7 องค์การบริหารส่วนตำบล |
|
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 53,168 คน |
|
เพศชาย |
26,081 คน |
|
เพศหญิง |
27,087 คน |
|
จำนวนหลังคาเรือน 15,350 หลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2554) |
|
|
|
5. การคมนาคม |
|
ประชาชนในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ สามารถติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ และภายในจังหวัดได้สะดวก เพราะมีเส้นทางเชื่อมต่อ |
ที่สะดวก สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงทุกจังหวัด |
|
|
|
6. สภาพสังคม |
|
ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ร้อยละ 98.88 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาอื่น ๆ |
|
ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่น มีชาวเขาเผ่าม้ง อาศัยที่บ้านแม่แรม หมู่ที่ 12 ตำบลเตาปูน ชาวเขาเผ่าอาข่าอาศัยที่บ้าน |
แม่พร้าว หมู่ที่ 9 ตำบลสะเอียบ และชนเผ่ามลาบรี อาศัยที่บ้านท่าวะ หมุ่ที่ 8 ตำบลสะเอียบ |
|
|
|
7. สภาพเศรษฐกิจ |
|
สถานภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ |
26,534 บาทต่อปี |
|
|
|